องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม >> ประเพณีท้องถิ่น
ประเพณีการแข่งเรือของชาวบ้านท่าวัดเหนือ

วันที่ 15 มี.ค. 2565

การแข่งขันจะจัดขึ้นในช่วงเดือน 10 หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พร้อมกับการทำบุญข้าวสากด้วย ชาวบ้านท่าวัดทุกคนเป็นเจ้าภาพ และเป็นกรรมการก่อนจะมีการแข่งขั้น ประมาณ 15 วัน หรือ 30 วัน คณะกรรมการจะมีหนังสือเชิญ (สลาก) ไปยังหมู่บ้านต่างๆ ที่มีเรือแข่ง (เรือช่วง) รอบๆหนองหารหรือหมู่บ้านใกล้เคียง รวมทั้งเรือในเขตเทศบาลด้วย เมื่อถึงวันแข่งขันหมู่บ้านหรือชุมชนที่ได้รับเชิญ (ถูกสลาก) ก็จะนำเรือมา เมื่อมาถึงชาวบ้านก็จะแบ่งกันเป็นกลุ่ม เรียกว่ากลุ่มกล่องข้าวมีหน้าที่ดูแลต้อนรับคณะทีมเรือแต่ละชุมชนหรือหมู่บ้านที่ทำเรือมาเข้าทำการแข่งขันด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร เป็นพี่เป็นน้อง สนุกสนาน แล้วอยากจะมาอีกในปีต่อไป รางวัลมี 1,2,3 และชมเชยตามลำดับ รางวัลก็จะมีถ้วย ขันพร้อมกับเหล้า ลดหลั่นกันไปตามลำดับส่วนที่ไม่ติดลำดับ ก็จะได้สุราเป็นสินน้ำใจ ต่อมาปี พ.ศ. 2518 บ้านท่าวัดได้แยกเป็น 2 หมู่ จากหมู่ 10 มาเป็นหมู่ 3 และหมู่ 9 ถึงแม้ว่าจะแยกเขตการปกครองแต่ประเพณีปฏิบัติก็ยังร่วมกันอยู่โดยตกลงกันว่าให้สลับสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็หยุดไปเนื่องจากติดขัดในเรื่องงบประมาณ ดำเนินการ ต่อมาเมื่อปี 2527 มีการแยกตำบลจากตำบลดงชนบางส่วนออกมาเป็นตำบลเหล่าปอแดง ส่วนบ้านท่าวัดเหนือ หมู่ 3 และบ้านท่าวัดใต้หมู่ 9 ก็ได้แยกมาอยู่ในเขตการปกครองของตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2531 นายทองอินทร์ ทุงเชียงเข้ม ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านท่าวัดใต้หมู่ 9 ได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลเหล่าปอแดงพร้อมกับได้แต่งตั้งเป็นประธานสภาตำบลในขณะเดียวกัน เห็นว่าให้ชาวบ้านท่าวัดรับภาระเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเรือต่อไป คงไม่ได้จัดอีกแล้วเนื่องจากการจัดการแข่งขันจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานมากพอสมควร จึงได้ยกเอาการแข่งขั้นเรือประเพณีของหมู่บ้านต่างๆในตำบลเหล่าปอแดงและหมู่บ้านชุมชนใกล้เคียงมาจัดการแข่งขันที่หนองสระซึ่งเป็นสนามแข่งขันของตำบลเหล่าปอแดงแห่งเดียว งบประมาณในการบริหารจัดการได้มาจากเงินบริจาคกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ของตำบลเหล่าปอแดงและผู้มีจิตเป็นกุศลทั่วไป พ.ศ. 2542 ตำบลเหล่าปอแดงได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประเพณีการแข่งขันเรือของชาวตำบลเหล่าปอแดงจึงได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าปอแดงตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน ส่วนชาวบ้านท่าวัดทั้ง 2 หมู่บ้านก็ได้ทำเรือเข้าไปร่วมทำการแข่งขันที่สนามตำบลเหล่าปอแดงทุกปี เมื่อเสร็จจากการแข่งขันของตำบลเหล่าปอแดงแล้ว ชาวบ้านท่าวัดก็ได้ทำเรือเข้าไปทำการแข่งขันที่สนามสระพังทองของเทศบาลเมืองสกลนครในวันเทศกาลออกพรรษา เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวสกลนครต่อไปทุกๆปี มิได้ขาด
pic
pic
pic
pic
pic
pic

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว



ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


อาคารพิพิธภัณฑ์จังหวัด ถนนศูนย์ราชการ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือสกลนคร จังหวัดสกลนคร ๔๗๐๐๐

โทร.๐๔๒-๗๑๖-๒๔๗  โทรสาร.๐๔๒-๗๑๖-๒๑๔
สายด่วนวัฒนธรรม
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม