องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม >> ประเพณีท้องถิ่น
การตาย และพิธีกรรมศพ ชาวบรูสกลนคร

วันที่ 26 ก.ค. 2565 (จำนวนคนอ่าน730คน)

การตาย และพิธีกรรมศพ ชาวบรูสกลนคร

               ความเป็นมา

               ในสังคมโลกยุคปัจจุบันนี้ ความเจริญก้าวหน้าวิทยาศาสตร์สามารถทำให้มนุษย์มีความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ แต่ในสมัยโบราณมนุษย์ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ว่าฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม แต่ปรากฏการณ์เหล่านี้ก็ยังมีผลต่อการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบรูมาโดยตลอด ดังนั้น ชาวบรูจึงสร้างความเชื่อต่อสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้เช่น ฟ้าแลบฟ้าผ่าซึ่งเกิดจาก นางเมขถาล่อแก้ว และ รามสูรย์ขว้างขวาน ในป่ามีเจ้าป่าคอยคุ้มครองรักษา มีผีเจ้าปู่คอยคุ้มครอง เมื่อจะตั้งหมู่บ้าน ณ ที่ใดจึงมักจะตั้งศาลปู่ตาไว้ด้วย ความเชื่อจึงเป็นความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สืบทอดกันมา ไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลตามพื้นฐานความเป็นจริงซึ่งความเชื่อมีผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตชาวบรู การสูญเสียชีวิตชีวิตของบุคคลในครอบครัวหรือกลุ่มพี่น้องชาวบรู เมื่อเสียชีวิตไปแล้วกลายเป็นผีซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัว ขาวบรูจึงเกิดมีประเพณีที่เป็นไปเพื่อความผ่อนคลายความเศร้าโศก และตัดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผี ดังคำกล่าวโบราณของชาวบรู เกี่ยวกับความเชื่อที่เป็นสาเหตุให้บุคคลในครอบครัวเสียชีวิตไว้ว่า" เมื่อมีตุ๊กแกมาจับที่บ้าน ฟานฟักไข่ (กกไข่) ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และนกตะไหล่บินมาจับหลังคาเรือน ถือว่าไม่เป็นมงคล อาจมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นกับชีวิต และทรัพย์สินในครอบครัวตนเอง "

               ชาวบรู มีฮีตประเพณีที่เป็นแบบแผนถือปฏิบัติติดต่อกันมาแต่โบราณเป็นของตนเอง คือพิธีน๋ชองอะ   ร่วาย หรือ พิธีกรรมศพ นายเยี่ยม ฮุงหวล อายุ 51 ปี  เป็นบุคคลหนึ่งที่ยังนับถือผีบรพบุรุษอยู่ และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพิธีกรรมศพของชาวบรู ได้เล่าความเป็นมาของพิธีศพนี้ว่า บรรพบุรุษชาวบรู ได้พบเห็นลิงฝูงหนึ่ง กำลังทำพิธีส่งวิญญาณสิงในฝูงที่ตาย โดยการนำขึ้นไปวางไว้บนจอมปลวก แล้วพากันเดินรอบ ๆ ถึงที่ตายนั้น ชาวบรู จึงได้นำพิธีกรรมนี้ถือปฏิบัติต่อกันมา

               พิธีกรรมศพของชาวบรู เมื่อมีญาติเสียชีวิตลงในครอบครัว จะไม่นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นบ้านนิยมประกอบพิธีศพของชาวบรูเฉพาะ เรียกตามภาษาถิ่นว่า "เลียบ" เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะนำศพไปฝัง ชาวบรู มีการประกอบพิธีกรรมศพ 3 วัน 3 คืน และผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมศพนั้น จะต้องเป็นลูกเขยห่าง ๆ ในครอบครัว ไม่นิยมนำเอาเขยที่มีความใกล้ชิดมาประกอบพิธีกรรม ถ้าหากเขยคนใดไม่กล้าที่จะร่วมพิธีกรรมศพนี้ก็สามารถว่าจ้างคนอื่นลงประกอบพิธีกรรมแทนตนเองได้ และจะต้องประกอบพิธีน๋ชองอะร่วายจนแล้วเสร็จ

ก่อนที่จะประกอบพิธีน๋ชองอะร่วาย หลังจากทำพิธีขอขมาศพ และยกลงมาจากบนบ้านแล้ว

               การประกอบพิธีน๋ชองอะร่วายชาวบรู มีอยู่ 2 แบบ คือ

               แบบที่ 1 การประกอบพิธีกรรมเตียชีวิตจากสาเหตุป่วย-ไข้ ตามปกติ

               แบบที่ 2 การประกอบพิธีกรรมเสียชีวิตสาเหตุการตายจากอุบัติเหตุ

               การประกอบพิธีกรรมศพ หรือ น๋ชองอะร่วาย เมื่อทราบว่ามีผู้เสียชีวิตลง ก็จะเตรียมอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ประกอบพิธีกรรมน๋ซองอะร่วาย ซึ่งเรียกตามภาษาถิ่นบรูว่า "การเลียบ” มีดังนี้

               ดอกไม้ เทียน ขันธ์ห้า ขันธ์แปด หอก ตุ๊กแก ฟาน ไข่ฟาน นกสะไหล่ ผลส้มป่อย กระหยัง ใช้บรรจุอุปกรรณ์ เช่น ข้าวสาร เป็นต้น กระหย่อง เพื่อนำมาใส่ดอกไม้ เทียน กระบวยตักน้ำ ผ้าขาว โลงศพ รั้งผึ้ง บั้งทิง (กระบอกไม้ไผ่ใช้บรรจุน้ำดื่ม) น้ำเต้าปุง (ใช้บรรจุน้ำดื่ม) เหล้าไห หรือ เหล้าขาว พังฮาด เสียม ๑ คู่กระบอกไม้ไผ่ ๑ คู่ มีความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ตูบ หรือ เพิงหญ้า สำหรับท่พักศพในการประกอบพิธีกรรม ไพหญ้าคา ๕ ก้าน

               ชาวบรู มีความเชื่อว่า เมื่อมีตุ๊กแกมาจับที่บ้าน ฟานฟักไข่ (กกไข่) ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และนกสะไหล่บินมาจับหลังคาเรือน ถือว่าไม่เป็นมงคล อาจมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นกับชิวิต และทรัพย์สินในครอบครัวตนเอง

               ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมศพ

               แบบที่ ๑ จะนำศพบรรจุไว้ในโลงศพที่ทำด้วยไม้ นำผ้าฝ้ายด้ายดิบสีขาวนำมาปกปิดไว้บนฝาโลงศพ เสร็จแล้วจ้ำจะทำพิธีขอขมา เมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะเคลื่อนย้ายโลงศพที่อยุ่บนบ้านลงมาวางไว้ยังที่พักศพ บริเวณชายคาใต้ถุนบ้านที่สร้างเป็นที่พักศพไว้แล้ว โดยการวางโลงศพผู้เสียชีวิตให้ขวางทางโคจรของดวงอาทิตย์ ภาษาถิ่น เรียกว่า "ขวางตะเว็น” เมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะเริ่มประกอบพิธีกรรมน๋ซองอะร่วาย(การเลียบศพ) ด้วยการใช้บทสวดเป็นสำเนียงภาษาบรู คือ ก๋ำจ็อมน๋ซองอะร่วาย และเรียกการสวดนี้ว่า "การจิเนิด”

               ขั้นตอนการเลียบศพ

               การเลียบศพผู้เสียชีวิตปกติ จะมีการเลียบศพ ๓ ขั้นตอน ดังนี้

               ขั้นตอนที่ ๑ การคาระศพ (ขออมาศพ)

 

               ก่ำจ็อมน๋ของอะร่วาย (คำสวดน๋ชองอะร่วาย)

               ขั้นตอนที่ 1 การคารวะศพ (ขอขมาศพ)

               เขยทำหน้าที่แต่งขันธ์ 5 ด้วยตนเอง เพื่อขอขมาศพโดยมีหมอสูตเป็นผู้นำกล่าว ดังนี้

               คำกล่าว

               ออนกุมคังบังเงิย น๋ชัน จิงเกิ่ร เซอะ ออน จิต็อฮ น๋ชัน มะเนาะ เซอะ ออน ซิเรียล เซอะ

               ออน อัน ฮาน เซอะ ออน อัน พาน อัน ฮาย กุชัน เซอะ เกาะ ระนา กุลา เซอะ เกาะ น๋จ็อฮ

               คำแปล ขอให้มาคอยปกปักรักษา คุ้มครอง ดูแล อย่าให้มีฝนฟ้าตกลงมาในงานนี้ อย่าได้มีเหตุเภทภัยที่ไม่ดีงามเกิดขึ้นในงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นงู เสือ อื่นๆ มาขัดขวางในระหว่างการกระทำพิธี เชือกกลองก็อย่าให้ขาด เชือกพังฮาดก็อย่าให้หลุดหรือคลายออก

               ขั้นตอนที่ 2 บอกให้ผู้ตายรู้ และบอกให้มากินข้าว

               คำสวดบทที่ 1 ฮิ บอก ออน อะญอา ดัง ฮิ ซัง ออน อะญอา แจง ล่วาม น๋ตรวยห์

ซีก ระ ซีก ล่วาม อะถิ่ เอิด เจ่ะ พาลา จินา ตะเรียะ เอิด เนอะง กะโตะ ปลีล ระจีล ซิรอ เอิด เนอะง

กะโตะ โต่น แญะ มะไน ฮิ ลู่ ลอาย จิวอาย แญะ มะไน ฮิ จิวอาย ตัฮ วอาย เขย กก อะญอา ญัง มา

ทาย เขข ปาย อะญอา ญัง มา เปียน

               คำแปล เมื่อตายไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็ขอให้วาง เจ้าเอย ขอให้มากินข้าว ตับไก่ก็ทำ เป็นชิ้นเป็นคำๆ ตับหมู ตับควาย อาหารต่างๆ ก็ได้ขัดใส่พาข้าวและกะหย่อง(ขันโตก) ใบใหญ่เท่านี้ วางไว้ได้รักแร้ข้างๆ กายเจ้าแล้ว บัดนี้ถึงเวลาขอพักเหนื่อยก่อน แล้วเขยกกสิมาทาย เขยปลาชลิมาเปลี่ยน (ลูกเขยคนแรก และถูกเขยคนสุดท้ายของผู้เสียชีวิต ที่จะเข้ามาผลัดเปลี่ยนการประกอบพิธีน๋ชองอะร่วาย หรือ เลียบศพ)

               หลังจากประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วายใกล้จะจบลงในรอบที่ 1 จะเป็นช่วงพักผ่อนก่อน จะประกอบพิธีกรรมต่อไป หัวหน้าผู้ประกอบพิธีจะร้องเป็นบทสวดบอกเจ้าปางว่าเขยคนแรก และคนสุดท้ายจะเข้ามาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป พร้อมกับถามว่า

               หัวหน้าผู้นำสวดถาม : เหล้ายัง แซบ แกลบยังหอมอยู่บอเจ้าปาง

               คำแปล สุรายังอร่อย ยังมีกลิ่นหอมอยู่เหมือนเดิมรึเปล่า เจ้าปาง

               เจ้าปางตอบ : เหล้ายัง แซบ แกลบ ยัง หอม อยู่ เจ้า เอย

               คำแปล สุรายังมีรสอร่อย และมีกลิ่นหอมอยู่เหมือนเดิม เจ้าเอย

               เมื่อหัวหน้าประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วาย กับ เจ้าปาง ถามตอบเข้าใจกันดีแล้ว ก็จะพากันนั่งลงพักผ่อน ในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ในงานพิธี เข้าปางก็จะนำสุรา กับแกล้มมาแจกจ่ายให้ดื่มกิน พร้อมกับรับฟังคำแนะนำการประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วายจากเจ้าปางว่าที่ผ่านมาขั้นตอนถูกหรือผิดอย่างไร และขั้นตอนต่อไปจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เมื่อพักหายเหนื่อยแล้วก็จะเริ่มประกอบ พิธีกรรมต่อไป

               คำสวดบทที่ 2 บอก ออน อะญอา ดัง ซัง ออน อะญอา แจง ฮีด 12 คอง 14 มี คอง

เจียง ฮิ ตะ เจ่อ เร่อ อม ม๋ไป เซอะ ง๋กึ่ด เซอะ ออง ม๋ไป เซอะ ง๋คอง ไซ ลอาก ม๋ไป เซอะ ฮอน จัง

ไฟ ม๋ไป เซอะ ไก่ว จัง อู ม๋ไป เซอะ ง๋ชอด ม๋แปละ อะเร่า ไดฮ ม๋ไป เซอะ กุเตา ม๋แปละ อุยฮ ฮิ ม๋

เปา ญื่ด ม๋เปา ญ่วาง ฮิ ฮืม โปยฮ โป่ง ปะซอง อะลวาง ดม ตัมปรั่บ ฮิ ฮืม เฮด ตัน ทาง ฮิ ฮืม ลาง

ตัน หน่า  ฮิ ฮืม เคียล จิต่วาด เดียล จิตู่ง ปา มาก ลอด เคียล จิต่วาค เนอะง ปา มาก เว่อ เญอ เนอะง

ชาว กะปิ่ง ดาว เนอะง มะนั่ก กะ ปิ่ด

               คำแปล เจ้าเอย ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ฮีตมีคองเจียงก็ทำให้หมดทุกอย่างแล้ว ไม่ต้องถามอีกแล้วอยากได้ะไรอีก ทำให้หมดแล้ว ไม่ต้องรอคอย อย่าร้อนเหมือนไฟ อย่าหวั่นไหว ให้อยู่นึ่งๆ ใจเย็นๆ อย่าคิดมาก อย่าฝันจนยืดยาว เห็นกวางอยู่ในป่า ต้นไม้ล้มทับกันสองครั้ง เห็นลางร้ายขวางหน้า ผ้าห่มตากไว้ที่ราวตากผ้าก็หาย ดาวอยู่บนฟ้าก็หาย เห็นรังผึ้งห้อยหย่อนลงมาก็อย่าท้วงติงถือว่าเป็นลางไม่ดี

               คำสวดบทที่ 3 มด แต กร่วง ฮอ มอ แต เจ่อะ กะลาง น๋ตรวยห์ แญ่ะ แต ม่วย ญอาง บา

ญอาง ตะราง แญะ ม่วย ปึ่ง บา ปึ่ง เบรา ดืง ญอาก ระ ญอาห์ เบรา ตะ อึ่ง ระอึ่ง อัน เตอ ยูร อัน

เตอ ตู่ล อะมาม บน ฮิ เตอ ล่อาบ จำปอาน ฮิ เตอ อืยห์ ซด เซียง ซิบาว กลอาย อะล็อง

               คำแปล หมดแต่เมืองก็ห่อให้ทุกสิ่งอย่างแล้ว ไก่ก็หมดไปแล้ว 2 - 3 เข่งแล้ว การทำ

ตะแคร่ก็หมดไป 3 ชุดแล้ว บุญช่อยบ่หลาย เจ้าตายเป็นผีแล้ว หมดสังขารแล้ว อาบน้ำอาบท่าแล้ว

ก็ใส่โลงศพไว้ จะเรียกกู่ร้องสุดเสียงก็ไม่ได้ยินไม่ได้กลับ

               คำสวดบทที่ 4 ตอน ฝัง

               ซิลา แนก อะตัง ซิลา น๋ตั่ง อะตุ่บ ฮีด 12 กะ เจ่อ ฮีด นี คองเจียง กะ เจ่อ ม๋ไป เซอะ ง๋กึ่ง

ไซ ออง ม๋ไป เซอะ ง๋ก่วาง ไซ ลอาก ม๋ไป เซอะ ฮอน จัง ไฟ ม๋ไป เซอะ ไก่ว จัง อู ม๋ไป เซอะ น๋

ซอก จัง อะเร่า ม๋ไป เซอะ กุเตา ม๋แปละ อุยฮ แญ่ะ มะไน ฮิ ลู่ ถอาย จิวอาย แญ่ะ มะไน จะวอาย

ตัฮ จิวอาย เขย กก อะญอา จัง มา ทาย เขย ปาย อะญอา จัง ซิ มา เปียน

( อะเฮิยฮ ไป ลวาบ จัง อะลู่ )

               คำแปล บัดนี้ จะเอาใบไม้ปิดไว้ เอาดินกลบ เจ้าเอย ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ฮีตมีคอ

งเจียงก็ทำให้หมดทุกอย่างแล้ว ไม่ต้องถามอีกแล้วอยากได้อะไรอีก ทำให้หมดแล้ว ไม้ต้องรอคอย

อย่าร้อนเหมือนไฟ อย่าหวั่นไหว ให้อยู่นิ่งๆ ใจเย็นๆ อย่าคิดมาก อย่าฝันจนยืดยาว เห็นกวางอยู่

ในป่า ต้นไม้ล้มทับกัน เห็นลางร้ายขวางหน้า เห็นรังผึ้งห้อยหย่อนลงมาก็อย่าท้วงติงถือว่าเป็นลาง

ไม่ดี บัดนี้ถึงเวลาขอพักเหนื่อยก่อน แล้วเขยกกสิมาทาย เขยปลายสิมาเปลี่ยน

               หัวหน้าผู้นำสวดถาม : เหล้ายัง แซบ แกลบยังหอมอยู่บอเข้าปาง

               คำแปล สุรายังอร่อย ยังมีกลิ่นหอมอยู่เหมือนเดิมรึเปล่า เจ้าปาง

               เจ้าป่างตอบ : เหล้า ยัง แซบ แกลบ ยัง หอม อยู่ เจ้า เอย

               คำแปล สุรายังมีรสอร่อย และมีกถิ่นหอมอยู่เหมือนเดิม เจ้าเอย

               ขั้นตอนที่ 3 บอกทางไปสวรรค์

               ฮิ บอก ออน อะญอา ดัง ฮิ ซัง ออน อะญอา แจง ฮิ ปะตับ มะนื่ล เตอ ออ ฮิ ปะตอ มะนื่ล

เตอ รวาห์' ฮิ อะเติง ออน อะญอา โจน เมื่อง คำ ซะนก ฮิ ออน อะญอา โจน เมื่อง ซุก ซะบาย

เมื่อง เค่า บอ ได๊ หา เมื่อง ป๊า บอ ได๊ ซี๊อ ระนา อะตึ่ง ระนา อะร๋อก ระนา อะต๋อก ระนา ถือซี ระ

นา ง๋แกะฮ ระนา กุตี่ ระนา เจา ตอน บน ระนา เจ่ะ กัล กุแปะฮ ระนา แว่ะฮ เจ่ะ กัล น๋ปืด น๋ปึง

               คำแปล บอกแนวบ่ดีแล้ว เพราะเข้าตายแล้ว ให้ขึ้นไปอยู่เมืองคำสนุก เมืองข้าวบ่ได้หา

เมืองปลาบ่ได้ซื้อ ทางสั้น ทางยาว ทางเจ้าต่อนบุญ ทางเข้าใกล้ต้นหมากแงว ทางแยกใกล้กับต้น

ปึ้ดปึง

               การประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วายนั้น ผู้ประกอบพิธีกรรมทั้งหมดเสมือนหนึ่งทำหน้าที่การนำส่งวิญญาณผู้เสียชีวิตขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ เมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำพิธีเรียกขวัญผู้นำส่งวิญญาณลงมายังบริเวณที่ประกอบพิธีน๋ชองอะร่วายเพื่อทำพิธีผูกข้อมือ

               คำเรียกขวัญ

               (อะล๋อง ระวอาย กวย ที เปอะ อะซวย อะแซง) เรียกขวัญลงมา

จุกตรีจู จู่ เย้อ รีวอาย ยู นำ ผี ตัก น๊าม กอน กา ยูนำ ผี หา พืน กอน ไก จู่ เด้อ รีวอาย จู่

เด้อ รีวอาย เอย จา โดย กะมู่ด มะนอาห์ กูจัฮ จา อะวอาฮ กะมู่ดมะนอาห์ เซียล น๋ปืด น๋ปิง ขวัญ

เฒาขวัญแก กะ ไฮ มา มัน เบิ้ดขวัญ เดก ตอ ซอย นอย ตอ ซู กะ ให่ มา พู บอก คำจำผี กะ ให่

มาให่ เบิ้ด ๆ พู ตก ผา แลง พูแตง กาย กะ ให่ มา ให่ เบิ๊ด จู่เกี่ยด ประ เน่น กิงกอย จู่ เย้อ ระวาย ประ รอาย สา บาท จุกรี จู จู่ เด้อ ระวอาย น๊าม เหล่า ซาง แม่บ จู่ เด้อ รีวอาย แกบ เหลา พอ

ซาง ลอย เสา เฮือน พอ ซาง ลาก ผาก เฮือน พอ ซาง แก จู่ เด่อ รีวอาย

(เจ่อ กะ เวี่ยน อะต่ำ อะล็อบ กลี เจ่อ แต กี่ กะ เลี่ยง ปล็อง

               คำแปล มาเด้อขวัญเอย อยู่นำผีตักน้ำก่อนกา อยู่นำผีทาฟืนก่อนไก่ มาเด้อขวัญเอย กินข้าวนำผีเหม็นคือถ่าน ขวัญเฒ่าขวัญแก่ก็มาให้หมด ขวัญเด็กต่อชอยขวัญน้อยต่อทรูก็ให้มาหมดผู้บอกคำจ้ำผีก็มาให้หมด ผู้ตกพาแลงผู้แต่งพางายก็มาให้หมด ให้มาหมดทุกสิ่งอย่าง น้ำเหล้าพอช้างเมบ แกบเหล้าพอช้างลอย เสาเฮือนพอช้างลาก ฟากเฮือนพอช้างแก่ หลังจากนั้นจะประกอบพิธีบายศรี ผูกข้อมือให้กับลูกเขอผู้เข้าประกอบพิธีน๋ชองอะร่วาย

               เมื่อพิธีผูกข้อมือเรียบร้อยแล้วจะทำพิธีเลียบอีกครั้งหนึ่ง โดยการเดินเวียนขวาย้อนกลับหลัง 3รอบ เมื่อครบแล้วก็เดินออกไปได้ หลังจากนั้นเจ้าปางก็นำเหล้าไห ไก่ ฝ้ายมาผูกข้อมือผู้ประกอบพิธีน๋ชองของอะร่วายทั้งหมด เสร็จแล้วลงมือรับประทานอาหาร การประกอบพิธีกรรมศพหรือ เลียบศพ จะมีการเลียบตลอด 3 วัน 3 คืน จนกว่าจะนำศพไปฝัง ก่อนที่จะฝังนั้นชาวบรูจะทำพิธีเสี่ยงไข่ไก่ดิบก่อน โดยการโยนไข่ไก่ดิบลงไปยังบริเวณพื้นที่ต้องการขุดหลุมฝังศพ หากไข่ไก่ดิบไม่เเตกก็จะย้ายบริเวณเสี่ยงไข่ไก่ดิบใหม่ จนกว่าไข่ไก่ดิบนั้นจะแตกจึงจะขุดหลุมฝังศพได้หลังจากนำศพลงไปฝังเรียบร้อย แล้วพอตกค่ำเจ้าภาพจะจัดสำรับกับข้าว หรือ "พาข้าว" ไว้ให้กับคนที่ตายไปแล้วและเรียกให้มากินข้าวอยู่ที่บ้าน เวลาเช้าจะจัดพาข้าวไปให้คนตายที่      หลุมฝังศพ

               ติดต่อกัน 3 วัน เมื่อครบกำหนด 3 วันแล้ว ญาติจะ ไม่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ซึ่งหมายถึงการหมดภาระ ความรับผิดชอบที่มีต่อกัน ดังคำพูดที่เปรียบไว้และถือกันมาแต่โบราณในหมู่พี่น้องชาวบรูว่า "วัดบ่เข้า พระเจ้าบ่นบ หากสินบกะขอเอาตีนนบ"

               ขั้นตอนประกอบพิธีกรรมศพ แบบที่ 2

               พิธีกรรมศพ แบบที่ 2 เมื่อมีญาติถึงแก่กรรม จากอุบัติเหตุ หรือ เรียกว่า "ตายโหง" ชาวบรูจะนำศพ ไปฝังที่ป่าช้าทันทีไม่ว่าะเป็นกรณีใด ถ้าถึงแก่กรรมที่ป่าก็จะทำการฝังทันทีจะไม่นไศพเข้าบ้าน เมื่อผ่าน ไปแล้ว 3 วัน ชาวบรู จะประกอบพิธีกรรมศพ โดยไม่มีโรงศพ แต่จะต้องเตรียมจัดทำวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของที่ต้องใช้ เหมือนกับพิธีน๋ชองอะร่วาย แบบที่ 1 และเพิ่มอุปกรณ์สำคัญ ดังนี้ หุ่นฟางหญ้าคา ใช้แทนคนตายโดยการเขียนรูปหน้าตาให้เรียบร้อย ผ้าขาวใช้ปกปิดหุ่นศพ สำรับข้าว (พาข้าว) 1 พา ไม้ไผ่สับฟาก ยาวประมาณ      1 เมตร ใช้ปูทำเป็นโลงศพแทนโลงจริง และจัดทำเป็นที่พักศพลักษณะหลังคาจั่ว หลังเล็กๆ

               การประกอบพิธีกรรมศพ แบบที่ 2 ใช้ในกรณีที่ผีผู้ตายมีความประสงค์ต้องที่จะมาอยู่กับลูกหลาน

ญาติผู้ตายจึงต้องทำพิธี โดยนำถ้วยกระเบื้อง หรือ ถ้วยกาไก่ ที่แตกแล้ว จำนวน 3 - 5 ชิ้น และถ้วย 1 ใบ นำไปฝังไว้ที่ใดที่หนึ่งตามต้องการ แต่ไม่ให้ฝังไว้ที่ป่าช้าก่อนฝังจะต้องเลี้ยง "สิบหัวขาว ซาวหัวหงอก" บอกกล่าวก่อนประมาณ 10- 20 คน แต่งขันธ์ 5 ไก่สุก 1 ตัว ก่อน ดังนั้น การประกอบพิธีกรรมศพ แบบที่ 2 นี้ ยังมีส่วนแตกต่างของอุปกรณ์ด้วย ชั้นแรก ลูกเขยผู้ประกอบพิธีกรรมการเลียบศพ ต้อง นำพาข้าวจำนวน 1 พา กระหยังบรรจุสิ่งของ ดอกไม้ เทียน ข้าวสาร เหล้าขาว หรือ เหล้าไห น้ำเปล่า หอก น้ำส้มป่อย เทียน 1 คู่ มัดติดไว้ที่ปลายหอก กระบอกไม้ไผ่ 1 สู่ ชาวประมาณ 10 ซ.ม. มัดติดไว้ข้างหอกเพื่อใช้บรรจุ น้ำอบสำหรับรดกระดูก

ผู้ตาย เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ สิ่งของพร้อมแล้วจึงจัดขบวนแห่ไปยังที่ฝังถ้วยกระเบื้อง เมื่อถึงแล้ว จัดดพาข้าวให้คนตายกิน หลังจากนั้นจึงขุดเอาถ้วยกระเบื้อง หรือถ้วยกาไก่ที่ไร้สมมุติแทนกระดูก ผู้ตายจริงขึ้นมา รดด้วยน้ำอบ น้ำหอมที่เตรียมมาให้สะอาด ห่อด้วยผ้าขาวแล้วบรรจุไว้ในกระหยัง เมื่อเรียบร้อยเเล้วแห่กลับมายังบ้าน จัดพาข้าวให้เขยได้รับประทานซึ่งใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะบรรจุอาการเพื่อประกอบพิธีกรรมน๋ซองอะร่วาย หรือ การเลียบศพ เหมือนกับคนตายปกติ

               ความเชื่อเกี่ยวกับเส้นทางการขึ้นสวรรค์ของชาวบรู

                   1) การบอกทางของผู้ทำดี

                       ชาวบรู มีความเชื่อกันว่า ในขณะที่ประกอบพิธีกรรมศพนั้น ผู้ประกอบพิธีจะบอกทางไปสู่สวรรค์ จะได้ไปเกิดใหม่ จะต้องผ่านหินกระทบกัน(ภูเขา) จะเป็นช่วงเวลาที่หินเปิดออก หรือหินแยกออกจากกัน จะมองเห็นทางไปเกิด หรือ ทางขึ้นสวรรค์ ดังนั้นเมื่อวิญญาณของผู้ตายพเห็นแล้วให้รีบผ่านเลยเข้าไปทันที

 

 

                   2) ทางแห่งการทำชั่ว

                       ชาวบรู คนใดที่มีความประพฤติไม่ดี ชาวบรูเชื่อกันว่าจะไม่สามารถผ่านเข้าไปเกิดใหม่หรือ ขึ้นสวรรค์ได้ เพราะจะโดนหินกระทบวิญญาณแตกดับก่อน

คำสำคัญ (Tags) ชาวบรูสกลนคร พิธีกรรมศพชาวบรูสกลนคร

สถานที่ตั้ง

ชื่อสถานที่ตั้ง ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม  จังหวัดสกลนคร

แหล่งที่มา

ชื่อผู้ให้ข้อมูล สิบโทอุฤษดิ์  ม่วงมณี  ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ  อีเมล์  -

ชื่อที่ทำงานผู้ให้ข้อมูล

โรงเรียนเทพสวัสดิ์ ตำบลไร่ อำเภอพรรณนานิคม  จังหวัดสกลนคร

pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว



ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


อาคารพิพิธภัณฑ์จังหวัด ถนนศูนย์ราชการ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือสกลนคร จังหวัดสกลนคร ๔๗๐๐๐

โทร.๐๔๒-๗๑๖-๒๔๗  โทรสาร.๐๔๒-๗๑๖-๒๑๔
สายด่วนวัฒนธรรม
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม