ภาคอีสานในสมัยโบราณก่อนที่จะมีมวยคาดเชือกมวยเวทีมีมวยแบบหนึ่งเรียกกันหลายชื่อเช่นมวยลาวบ้างเสือลากหางบ้าง มวยดังกล่าวนี้นิยมฝึกหัดตามคุ้มวัดตามหมู่บ้านเพื่อให้มีกำลังวังชา  สามารถต่อสู้ป้องกันตัว ได้และในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงวามสวยงามของ ลีลาท่ารำท่าฟ้อนมีการร่ำเรียนเวทมนต์คาถาเสกเป่าหมัดเข่าให้มีพละกำลังแข็งแกร่งจนคู่ต่อสู้ทำอันตรายไม่ได้  ในปัจจุบันจังหวัดสกลนครเป็นแหล่งเดียวที่ยังมีมวยโบราณในงานเทศกาลงานบุญประเพณี เช่น  เทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาในเทศกาล ออกพรรษา ในเทศกาลงานบุญเหล่านี้ ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ของคุ้มวัดเข้า  ร่วมขบวนอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะชาวสกลนครในเขตรอบๆเมืองถือกันมาแต่โบราณว่าเมื่อถึงเทศกาลบุญพระเวศเทศน์มหาชาติเดือนี่แล้วชาวคุ้มจะจัดเป็นขบวนแห่ฟ้อนรำไปตามถนนผ่านหน้าบ้านผู้คนเพื่อบอกบุญ  ทำบุญร่วมกันถวายแด่องค์พระธาตุเชิงชุมขบวนแห่ของชาวคุ้ม นอกจากจะประกอบด้วย ผู้คนทั้งหนุ่มสาว เฒ่าชรา แต่งกายสวยงานตามแบบพื้นเมืองฟ้อนรำไปตามถนนหนทางแล้วยังมีนักมวยของแต่ละคุ้มนำหน้าขบวนเป็น  ที่สุดุดตาแก่ผู้พบเป็น นักมวยแต่ละคนจะนุ่งโจงกระเบนหยักรั้งปล่อยชายกระเบนห้อยลงมาพองามด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านจึงมักเรียก นักมวยว่า "พวกเสือลากหาง" การแต่งกายของผู้รำมวยโบราณนอกจากจะแต่งด้วยผ้าหยักรั้งปล่อยห้อยชายกระเบนแล้ว ตามเนื้อตัว ตามขายังนิยมสักลายท่อนบนมักจะเป็นรูปสัตว์ที่แผงอก เช่น รูปครุฑ  รูปงู  รูปเสือ หนุมาน ส่วนตามโคนขาก็จะสักลายเป็น รูปพืชผัก เช่น ลายต้นข้าว ผักกูด คติความเชื่อในเรื่องสักลายนี้แต่โบราณถือว่าเป็นสัญลักณ์ความเข้มแข็งเป็นที่พึงพอใจของสตรีเพศ บางรายอาจมีคติเรื่องความคงกะพัน ผสมกับความสวยงานด้วย นักมวยโบราณจะมีตุกรุดรัดแขนภายในตะกรุดมีเครื่องรางของขลัง ที่ตนนับถือสวมมงคลท่ศีรษะในขณะที่ไห้วครู เช่น เดียวกับมวยเวทีในปัจจุบันและจุถอดมงคลออกเมื่อถึงบที่จะร่ายรำหรือต่อสู้  ความงดงามของมวยโบราณอยู่ที่ท่าทางการไห้วครู ซึ่งใช้ลีลาจากอากัปกิริยาของสัตว์  เช่น เสือ ช้าง ม้า วัว ควาย มาดัดแปลงด้วย ลีลาของนักมวยแล้วเคลื่อนไหวเหยาะย่างให้เข้ากับเสียงกลองเสียงแคน นักมวยบางคนยังนำเอาท่าทางของลิงของยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์ มาประดิษฐ์เป็นท่าทางร่ายรำอย่างสวยงาม
           อันเนื่องมาจากความงดงามของนักมวยโบราฯ ซึ่งเป็นศิลปะผสมผสานระหว่าง นาฏศิลป ์พื้นบ้านอีสานและชั้นเชิงของการต่อสู้จึงทำครูมวยโบราณขึ้น นายจำลอง นวลมณี ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญ เป็นผู้รักและสนใจการแสดง มวยโบราณได้ ทุ่มเทเวลาให้กับการฝึกมวยโบราณให้กับนักเรียนประถมมัธยม และพนักงานดับเพลิงของเทศบาลเมืองสกลนครการแสดง มวยโบราณ แบ่งเป็น 3 ตอน คือขบวนแห่มวยโบราณท่าไหว้ครูหรือรำเดี่ยว และการต่อสู้ เป็นที่น่าสังเกตว่า มวยโบราณไม่ใช้การต่อสู้ แบบเข้าคลุกวงใน ทั้งนี้เพราะจะทำเห็นลีลาท่าฟ้อนรำน้อยไป แต่นักมวยจะเข้าไปเล่นงานคู่ต่อสู้พร้อมกับถอยมาร่ายรำเป็นระยะ ๆ แล้วจึงบุกเข้าไปหรือเตรียมตั้งรับหรือตอบโต้คู่ต่อสู้ กล่าวได้ว่าความสนุกสนานของมวยโบราณ อยู่ที่ชั้นเชิงและกลเม็ดของนักมวย ผู้ที่เจนจัดมักมีลูกเล่นกลเม็ดแพรวพรายทั้งท่ารุก ท่ารับ ซึ่งหมายถึงการฝึก หัดมาอย่างดีในท่ารุกเข้าพิชิตคู่ต่อสู้หลายแบบนักมวย โบราณที่มีความคล่องตัวนักนิยมเล่นงานคู่ต่อสู้ด้วยเท้า ในขณะที่เสียเปรียบคู่ต่อสู้จนเสียหลักซวนเซ นักมวยจะแก้ปัญหา เช่น การหลบ โดยหลบ ลอดได้อย่างเร็ว พร้อมใช้เท้าถีบคู่ต่อสู้ให้ล้มหรือใช้ศอกถอง แต่ก็ต้องระวังท่าจรเข้ฟาดหางจากฝ่ายตรงข้าม ตอบโต้ด้วย มวยโบราณจึงมิใช่มวยทีชกกันเอาแพ้ชนะเช่นมวยในยปัจจุบัน แต่หากเป็นการต่อสู้ที่เน้นศิลปะของท่ารำ จึงควรให้ เรียกว่าการรำมวยซบราณ มิใช่การชกมวยต่อยมวยเช่นในปัจจุบัน
pic
pic

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว



ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


อาคารพิพิธภัณฑ์จังหวัด ถนนศูนย์ราชการ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือสกลนคร จังหวัดสกลนคร ๔๗๐๐๐

โทร.๐๔๒-๗๑๖-๒๔๗  โทรสาร.๐๔๒-๗๑๖-๒๑๔
สายด่วนวัฒนธรรม
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม