ข้อมูลวัฒนธรรม >> ประเพณีท้องถิ่น
ประเพณีบูชาผีฟ้า ผีแถน

วันที่ 21 พ.ย. 2560

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
        ชาวอีสานมีความเชื่อถือต่อ ผี มาก เพราะมีความเชื่อว่าเหตุที่เกิดเภทภัยเจ็บไข้ได้ป่วย น้ำท่วม ฝนแล้งนาล่ม หรือพืชพันธุ์ ธัญญาหารเหี่ยวแห้ง เป็นสิ่งที่เกิดมาจากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของผีสางเทวดาทั้งสิ้น พวกเขาจึงเซ่นไหว้บวงสรวงผีต่างๆ และมีสิ่งที่หน้าสังเกตคือ ทุกครั้งที่มีการเซ่นไหว้เป็นประจำทุกๆ ฤดูกาล แล้วจะเกิดแต่ความสุขไปทั่ว ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็หาย ข้าวกล้าในนาก็อุดม สมบูรณ์ดี และการที่มีคติความเชื่อดังกล่าวนี้ ก็ทำให้เกิดประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีหลายลักษณะ และพีธีบูชา ผีฟ้า ก็เป็นอีกพิธีหนึ่ง ชาวอีสานมีความเชื่อว่า พญาแถน หรือผีฟ้า หรือผีแถนนั้น เป็นเทวดามากกว่าเป็นผี ผีฟ้าจึงเป็นผีที่อยู่ระดับสูงกว่าผีชนิดอื่นๆ ส่วนแถนนั้น มีความเชื่อว่าเป็นคำเรียกรวมถึงเทวดา และแถนที่ใหญ่ที่สุดคือ "แถนหลวง" ซึ่ง เชื่อว่าเป็นพระอินทร์ ผีฟ้าหรือผีแถนนั้นแต่ละพื้นที่มีการเรียกที่แตกต่างกันไป และมีความเชื่อว่าผีฟ้านั้นสามารถที่จะ ดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ และสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ การที่มนุษย์เกิดการเจ็บป่วยนั้นเนื่องจากไปละเมิดต่อผี การละเมิดต่อบรรพบุรุษ ความเชื่อของชาวอีสานเชื่อว่าผีฟ้าสามารถที่จะกำหนดการเกิดการตายของมนุษย์ได้ การที่มนุษย์ตายไปขวัญจะออกจากร่างเพื่อไปพบบรรพชน แต่ขวัญจะไม่แตกดับเหมือนร่าง เป็นเพียงการจากไปของร่างแต่วิญญาณยังคงอยู่กับผู้มีชีวิต
 
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
         การรักษาต้องมีการเชิญผีฟ้ามาสิงสถิตอยู่ในร่างของคนทรง เรียกว่า ผีฟ้า นางเทียน ในการลำผีฟ้าของชาวอีสานนั้นมีองค์ประกอบ ทั้งหมด 4 ส่วนคือ หมอลำ ผีฟ้า หมอแคน ผู้ป่วย และเครื่องคาย หมอลำผีฟ้าจะเป็นผู้หญิงที่มีอายุหรือบางท้องถิ่นจะเป็นผู้หญิงสาว และจะต้องสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มหมอลำผีเท่านั้น แต่ที่จริงผีฟ้าสามารถสิงได้ทั้งหญิง ชาย และเด็ก โดยไม่จำกัดอายุ หมอแคน หรือหมอม้า จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป่าแคนมาเป็นอย่างดีเพราะในการประกอบพิธีจะต้องใช้เวลานานและต้องมีการเป่าอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยจะต้องแต่งกายตามที่ได้กำหนดไว้ คือ มีผ้าไหมหรือผ้าขาวม้าพาดบ่า มีดอกมะละกอซึ่งตัดร้อยเป็นพวงทัดหู ผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะฟ้อนรำกับหมอลำได้ และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เครื่องคาย เป็นสิ่งที่อัญเชิญครูอาจารย์ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมาช่วยเหลือ รักษาผู้ป่วย ในการรำผีฟ้านั้น จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เมื่อครูบาเก่าเข้าสิงร่าง ผู้ทำพิธีจะต้องสวมผ้าซิ่นทับผ้าที่สวมอยู่ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นชาย) หรือถ้าผู้ป่วยเป็นผู้หญิงครูบาจะสวมผ้าแพรหรือผ้าฝ้าย โดยสวมทับผ้านุ่งเดิม ซึ่งจะจัดไว้อยู่ใกล้เครื่องคาย ในการรักษาทุกคนจะต้องฟ้อนรำกันทุกคนและขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยต้องการดูการฟ้อนรำก็จะทำหน้าที่ต่อไป แต่ถ้าไม่ต้องการครูบาก็จะนำเครื่องคายขึ้นไปเก็บบนหิ้ง และจะมาร่วมกันรับประทานอาหาร
 
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
        การฟ้อนรำกันนั้น ก็เพื่อเป็นการทำให้คนไข้มีพลังจิตในการต่อสู้กับการเจ็บป่วย มีอารมณ์ผ่อนคลาย ความตึงเครียด จิตใจปลอดโปร่ง ไร้วิตกกังวล และสร้างจิตสำนึกด้านความกตัญญู เป็นคตินิยมของวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้สืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี จะเห็นว่าผีฟ้านั้นเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ โดยมีคติเตือนใจว่า คนไม่เห็น ผีเห็น
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว



ปฏิทินกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒

สายด่วนวัฒนธรรม
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม