กระทรวงวัฒนธรรม

วันที่ ๒๓/o๑/๒๕๖๑

บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....


ร่าง
พระราชบัญญัติ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

 
 

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "หมายเลขรหัส” และ "นายทะเบียน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "หมายเลขรหัส” หมายความว่า หมายเลขที่กำหนดสำหรับภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ที่ผ่านการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แล้ว "นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัด และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียน แล้วแต่กรณี” การมอบอำนาจของนายทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด "กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ อ่านต่อ


ตารางเปรียบเทียบ พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กับร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ....


สาระสำคัญการแก้ไขพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑

๑. กำหนดให้มีกองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการด้านภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หรืออุดหนุนค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย

๒. ให้มีคณะอนุกรรมการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะอนุกรรมการ ควบคุมการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในการถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย




แชร์


Facebook share Twitter share LINE share