กระทรวงวัฒนธรรม

วันที่ ๒๔/o๓/๒๕๖๑

วธ.ร่วมกับชาวปัตตานี จัดงานแสดงกริช-ผ้าโบราณสมัยอยุธยา ในงาน “กริชาภรณ์” นำวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข วิถีตานี วิถีอาเซียน ณ โรงแรม ซี. เอส. ปัตตานี


เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายกฤษศญพงษ์  ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการวัฒนธรรมเ ชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข วิถีตานี วิถีอาเซียน การจัดนิทรรศการ "กริชาภรณ์” ณ โรงแรม ซี. เอส. ปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมีนายขจร มุกมีค่า ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายพงศ์เทพ ไข่มุกด์ รองผู้ว่าราชการจังหวั ดปัตตานี วัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนเครือข่ายทางวัฒนธรรมป ระเทศอาเซียน ประชาชนเข้าร่วม ภายในงานมีการบรรยาย สาธิต และชมนิทรรศการศิลปะการปักผ้าโบ ราณอย่างราชสำนักอยุธยา การอบร่ำผ้า แป้งพวง นิทรรศการเครื่องแต่งกายในประวั ติศาสตร์ ศิลปะการต่อสู้ (ซีลัต) การเดินแบบเครื่องแต่งกาย ๕ มณฑล ๕ รัฐ (มณฑลปัตตานี, นครศรีธรรมราช, ไทรบุรี, ชุมพร, ภูเก็ต/รัฐกลันตัน, ตรังกานู, ปาหัง ,เคด้า ,ปีนัง และแบบอย่างอยุธยา) นิทรรศการวัฒนธรรมการใช้โสร่ง นิทรรศการจารีตการแต่งกายตามธรร มเนียมปฏิบัติ นิทรรศการวัฒนธรรมการแต่งกายในส มัยอยุธยา ฯลฯ

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายในการใช้วัฒนธรรมเป็นเค รื่องมือสร้างคนเป็นคนดี สังคมปรองดอง สมานฉันท์ สร้างรายได้ให้ชุมชน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประ เทศ สร้างภาพลักษณ์เกียรติภูมิของไท ยสู่เวทีโลก ทำให้ประชาชนในท้องถิ่น เกิดความภาคภูมิใจ รักและหวงแหนมรดกวัฒนธรรมและมีส่ วนร่วมในการสืบสาน ปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าท างเศรษฐกิจ ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวั ฒนธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสั นติ ดังนั้น วธ. จึงบูรณาการร่วมกับจังหวัดปัตตา นี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสมาชิกอาเซียน จัดงานนี้ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รูปแบบ การผลิตและการสะสมกริช ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นมรดกร่วม ในการสร้างความสัมพันธ์ของอาเซี ยน เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจและตระหนักเห็นถึงควา มสำคัญของผ้าปัตตานี ส่งเสริม สนับสนุน ฟื้นฟูและอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรมการแต่งกาย และเพิ่มบทบาทขององค์กรเครือข่า ยทางวัฒนธรรมในพื้นที่ งานนี้จึงเป็นงานที่รวมศาสตราวุ ธและอาภรณ์โบราณระดับอาเซียน และตัวอย่างเครื่องแต่งกายสมัยอ ยุธยา ตามรอยละครบุพเพสันนิวาสอีกด้วย

ปลัด วธ. กล่าวต่อไปว่า การจัดงาน "กริชาภรณ์” ในครั้งนี้  ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ งจากนักวิชาการด้านกริช ผ้าและเครื่องแต่งกาย จากประเทศต่าง ๆ  อาทิ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และบรูไน  และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีค วามเชี่ยวชาญในเรื่องโลหะในประเ ทศไทย เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก นับเป็นโอกาสอันดีที่นอกจากผู้เ ข้าร่วมงานจะได้มาร่วมพูดคุยแลก เปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง อาวุธโบราณ กริช ผ้า และเครื่องแต่งกายแล้ว ยังได้รับประโยชน์จากความคิดเห็ นของทุกฝ่าย รวบรวมเป็นองค์ความรู้เผยแพร่สื บทอดต่อไป




แชร์


Facebook share Twitter share LINE share