กระทรวงวัฒนธรรม

ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม


วัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ

เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ความสามัคคี และความมั่นคงของประเทศชาติประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏเป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของชาติ ประกอบด้วย ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผน และวิถีชีวิตอันดีงามที่สืบทอดมา ถึงปัจจุบัน

๒๔๘๑

๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ จัดตั้งกองวัฒนธรรม สังกัดกรมศิลปากร

เริ่มต้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ มีการตั้งกองวัฒนธรรม ในสังกัดกรมศิลปากร ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๘๓ มีพระราชบัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ กำหนดความหมายของวัฒนธรรมว่า หมายถึงลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบอันดีงาม ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน

๒๔๘๓

พระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญ คือ กำหนดความหมายของ "วัฒนธรรม” หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงามความเป็นระเบียบอันดีงาน ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน และกำหนดให้ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมแห่งชาติ ต้องผุดงส่งเสริมความก้าวหน้าของชาติไทย โดยรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมตามประเพณีที่ดีและช่วยกันปรับปรุงบำรุงให้ดียิ่งขึ้นตามกาลสมัย

๒๔๘๕

พระราชบัญญัติฉบับนี้ ยกเลิกพระราชบัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๘๓ และ ๒๔๘๕ โดยกำหนดให้จัดตั้ง "สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ” มีหน้าที่ดังนี้ ๑) ค้นคว้า ดัดแปลง รักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชาติที่มีอยู่ ๒) คันคว้า ดักแปลง และกำหนดวัฒนธรรมที่ควรรับไว้หรือปรับปรุงต่อไป ๓) เผยแพร่วัฒนธรรมแห่งชาติให้เหมาะสมกับกาลสมัย ๔) ควบคุมและหาวิธีปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งชาติในจิตใจของประชาชนจนเป็นนิสัย ๕) ให้ความเห็น รับปรึกษาและปฏิบัติการตามความมุ่งหมายของรัฐบาลในกิจกรรมอันเกี่ยวกับวันธรรมแห่งชาติ โดยกำหนดให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ๔ สำนัก คือ สำนักวัฒนธรรมทางจิตใจ สำนักวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณี สำนักวัฒนธรรมทางศิลปกรรม และสำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

๒๔๘๖

พ.ศ. ๒๔๘๖ ตราพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๖
พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นทบวงการเมือง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และเพิ่มสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง ขึ้นอีก ๑ สำนัก

๒๔๙๕

"กระทรวงวัฒนธรรม” ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยกำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วยสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดการทรวง กรมการวัฒนธรรม กรมการศาสนา และกรมศิลปากรโดยจอมพล ป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ว่ารัฐบาลนี้จะส่งเสริมการวัฒนธรรมทั้งในทางคติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรม และสหธรรมให้เป็นประเพณี ประจำชาติ กระทรวงวัฒนธรรมในระยะแรกมีที่ทำการอยู่บ้านพิษณุโลก จากนั้นจึงได้ย้ายไปที่ทำการถาวรบริเวณสนามเสือป่าพระนคร โดยมีพิธีเปิดอาคารที่ทำการเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗

๒๕๐๑

พ.ศ. ๒๕๐๑ จาก "กระทรวงวัฒนธรรม” เป็น "กองวัฒนธรรม”
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมขึ้นใหม่กำหนดให้ "กรมศิลปากร” โอนไปสังกัดการะทรวงศึกษาธิการ และให้ "กะทรวงวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ” ไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานปลัดการทรวงศึกษาธิการ มีฐานเป็นกอง เรียกว่า "กองวัฒนธรรม” แบ่งเป็น ๖ แผนก คือ แผนกธุรการ แผนกวัฒนธรรมวิทยา แผนกวัฒนธรรมทางจิตใจ แผนกวัฒนธรรมทางระเบียบประเพณี แผนกวัฒนธรรมทางวรรณกรรม และแผนกวัฒนธรรมทางวัตถุธรรมและศิลปกรรม โดยกองวัฒนธรรมได้โอนสังกัดกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

๒๕๒๒

รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้มี "คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ” ซึ่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ทำหน้าที่เสนอแนะให้ความเห็นการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมรวมถึงการติดต่อและเผยแพร่งานด้านวัฒนธรรมกับต่างประเทศ และจัดตั้ง "คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ” ขึ้นมีหน่วยงานประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรมกองวิจัยและวางแผน กองส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม และกองวัฒนธรรมสัมพันธ์

๒๕๓๕

เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ความสามัคคี และความมั่นคงของประเทศชาติประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏเป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของชาติ ประกอบด้วย ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผน และวิถีชีวิตอันดีงามที่สืบทอดมา ถึงปัจจุบัน

๒๕๔๕

๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สถาปนา "กระทรวงวัฒนธรรม”
พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลได้มีนโยบายปฎิรูประบบราชการ โดยได้ตราราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ "กระทรวงวัฒนธรรม” จึงได้รับการสถาปนาขึ้นอีกครั้ง โดยมีภารกิจสำคัญครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมีหน่วยงานระดับกรม ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัน และมีหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมมีองค์การมหาชนขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒ หน่วยงาน คือ ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒

๒๕๕๐

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีหน่วยงานในสังกัด กระทรวงวัฒนธรรม อีก ๑ หน่วยงาน คือ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
เดิมสังกัด กรมศิลปากรซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้วันที่ ๑๐ กรกฎคม ๒๕๕๐ เป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับอุดมศึกษา และ ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี

๒๕๕๔

      มีองค์การมหาชนในสังกัดเพิ่มขึ้นอีก ๑ หน่วยงานคือ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีกรทรวงวัฒนธรรม
ปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรมได้ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงานพร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ ทันสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนพร้อมกับการขยายเครือข่ายทางวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชรได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมพร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมไทยอันเปรียบเสมือนรากฐานของชาติให้คงอยู่อย่างมั่นคง




แชร์


Facebook share Twitter share LINE share