ข่าวสาร >> ปฏิทินวัฒนธรรม >> เดือนเกี๋ยง
ทอดผ้าป่า

วันที่ 18 มี.ค. 2563
 

ทอดผ้าป่า

ในภาคเหนือ เมื่อเดือนยี่มาถึงนิยมทอดผ้าป่าหรือ "ตานต๊อด" กันเกือบทั่วไปนับแต่โบราณมา บางคนทำการถวายกฐิน แล้วเอาผ้าป่าไปทอดอีก เป็นผ้าป่าหางกฐินบางคนจัดต้นผ้าป่าขึ้นมาเป็นการเฉพาะ มีลักษณะผ้าบังสุกุลจีวรที่ปรากฏตามตำนานทางพุทธศาสนาว่า "คราวหนึ่งพระอนุรุทธเถระผู้เป็นพระอรหันต์ เที่ยวแสวงหาบังสุกุลจีวรตามแนวป่าและเดินเข้าไปในป่าช้า หวังใจว่าจะพบผ้าสักผืน ขณะที่พระอนุรุทรรำพึง เช่นนั้นเทพธิดานางหนึ่ง ซึ่งชาติก่อนเคยเป็นภรรยาของพระอนุรุทรมีศรัทธาอยากจะถวายผ้าบังสุกุลแก่ท่านจึงนำเอา ผ้าทิพย์ลงมาพาดไว้ที่ต้นไม้เตี้ยๆ ต้นหนึ่ง ระหว่างทางที่พระเถระเดินผ่านไป เมื่อพบเหตุเช่นนั้นจึงแสดงความประหลาดใจ ก็มาจากสาเหตุเดิมนี้เอง การทอดผ้าป้าปัจจุบันเจ้าภาพจะนำเอากิ่งไม้ที่เหมาะแก่ต้นผ้าป่ามาใช้แทนต้นไม้หรือพุ่มไม้โดยมาก ใช้กิ่งมะขาม เพราะมีกิ่งมากและเหนียวด้วยนำมาปักติดกับต้นภัณฑ์ สังเคต หรือหม้อไหภาชนะ แล้วแต่ศรัทธาภายในดังกล่าวจะใส่เครื่องอุปโภค บริโภคของกิน ของใช้ เช่น ข้าวสาร ฟักแฟง ปลาย่าง ปลาแห้ง ผลไม้ต่างๆ และของใช้ภายในครัว ส่วนตันผ้าป่าก็จะแขวนวัตถุ

ที่ค่อนข้างเบามีหมากพลูบุหรี่ไม้ขีดไฟ เทียนไข สมุดดินสอ เป็นตัน แล้วมี ผ้าจีวร หรือสบงที่ใช้เป็นผ้าแขวน

หรือพาดไว้ผืนหนึ่ง สำหรับให้พระสงฆ์มาพิจารณาชักบังสุกุล สิ่งที่นิยมทำกันเป็นประจำคือ การนำเอาผ้าขนหนู

มาทำเป็นรูปซะนี่เล็กๆ แขวนไว้ด้วย

 

มูลเหตุที่มีผ้าป้า

เกิดที่ประเทศอินเดีย คือ สมัยพุทธกาลรั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีได้ทรอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย

รับจีวรจากชาวบ้าน ภิกษุจำต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เจ้าของทิ้งแล้ว คือ ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านทิ้งหรือผ้าห่อศพตามป่าช้าหรือตามป่า (บังสุกุล คือผ้าเปื้อนฝุ่น) เป็นผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย ครั้นเอามาซัก หรือปะติดปะต่อกัน เย็บย้อมเป็นจีวรหรืสบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของภิกษุในครั้งโน้นต้องใช้กันทำหลายรูป และแม้จีวรของภิกษุที่ทรงอนุญาตให้ตัดเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการเอาผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนี้เองครั้นต่อมาชาวบ้านเห็นความลำบากของภิกษุ จะนำผ้าไปถวายโดยตรงก็ยังไม่มีพุทธานุญาตจึงนำผ้าไปทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ในป้าช้าหรือในป่า เมื่อภิกษุไปพบเข้าก็นำมาเอามาทำจีวรตามประสงค์แต่การทอดผ้าป่าเยี่ยงสมัยโบราณนี้ ดูจะบางตามากเสียแล้ว การทอดผ้าป่ามักจะมีสบงจีวรหรือไตรจีวรและอื่นๆ เช่น อ้อย ข้าวสาร ปลาแห้งปลากรอบ บรรจุลงในกระชุบาง กระบุงบ้าง และปิดกระดาษอย่างสวยงาม ภาชนะเหล่านี้ส่วนมากมีขนาด ๑ ศอกบ้าง ๒ ศอกบ้าง เอากิ่งไม้ปักตั้งลงไป แล้วแขวนตามกิ่งไม้ด้วย ของใช้ต่าง ๆ ถ้าจะให้สนุกสนาน ตื่นเต้นและพิสดาร จะใช้ไม้ไผ่สารเป็นรูป ผีเปรต แล้วเอากระดาษมาปะ ให้ดูน่ากลัว ภายมในห้องบรรจุเครื่องใช่ต่างๆ แล้วยกไปไว้ตามสมทุ่มพุ่มไม้ ถ้าภิกษุรูปใดไปพบแล้วตกใจก็ผ่านไป แต่ถ้ารูปไหนไม่ตกใจก็เก็บเอาผ้าไปก็คล้ายกับว่าช่วยผีเปรตนั้นไปผุดไปเกิด

          เมืองไทยเรานี้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงอนุรักษ์เพื่อรักษาขนบทำเนียมประเพณีในทางศาสนา

 

ความนิยมในระยะกาล

          ในสมัยพุทธกาลไม่นิยมกำหนดระยะกาลทอดผ้าป่า สุดแต่ว่าทายกทายิกกาจะมีใจศรัทธาใคร่จทำบุญก็นำอาผ้านั้นไปไว้ตามป่า หรือสถานที่ไปมาของภิกษุ เมื่อภิกษุไปพบก็จะเก็บเอาไปทำผ้าไตรจีวรต่อไป

          สมัยปัจจุบัน นิยมทอดกันโดยมากในระยะเวลากำหนด คือ ระหว่างเดือน 12 ถึง เดือน 4 เหนือ แม้ในทางราชการก็ปรากฏว่ามีในระหว่างเดือน 12 พร้อมกับพิธีลอยประทีป

ประเภทผ้าป่า

๑. ผ้าป่าหางกฐิน หรือแถมกฐิน

โดยมาก เจ้าภาพผู้จัดให้มีขึ้น คือ เมื่อทอดกฐินแล้วก็เลยทอดผ้าป่าตามไปด้วย

๒. ผ้าป่าโยง

เป็นผ้าป่าเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพบ้าง จัดทำรวมกันหลายกอง

๓. ผ้าป่าสามัคคี

โดยมากแจกฎีกาบอกบุญไปตามที่ต่างๆ รับกันน้อยบ้างมากบ้าง ตามแต่จะมีศรัทธาจัดรวมกัน

เป็นจำนวนมาก บางที่มีถึง ๕๐๐ กอง หรือมากกว่านี้ก็มี ผ้าป่าชนิดนี้มีงานฉลองกันเป็นการครึกครื้น

โดยมากจัดทำขึ้นเพื่อรวมทุนทรัพย์ก่อสร้างหรือจัดทำถวายวัตถุในวัด ผ้าป่าชนิดนี้บางทีก็ไม่มีผ้ามักจะเป็นสิ่งของอื่นๆ เช่น ข้าว หนังสือ ตามสะดวกแก่วัตถุที่หามาได้ ถึงกระนั้นยังรียกว่า ผ้าป่า พอให้สมกับคำที่เรียกว่า ผ้าป่าด้วยเหตุนี้เองจึงเรียกว่าผ้าป่าชนิดนี้ว่า "ผ้าป่าสามัคคี"

หมายเหตุ การทอดผ้าป่าสามารทำได้ทุกฤดูกาลไม่เฉพาะช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

 

๔. ทานทอด (ตานต๊อด)

ประเพณีชาวเหนืออีกประการหนึ่งคือ ทานทอด ชาวภาคเหนือถือว่าถ้าหากใครได้ทำทานทอด จะเป็นผู้มีบุญมากเพราะได้สงเคราะห์คนอื่นและมักพบโชคลาภโดยไม่คาดฝันไปไหนมาไหนผู้คนรักใคร่ชอบพอจึงนิยมกันมาช้านาน นับเป็นส่วนหนึ่งของผ้าป่า แต่เรานิยมเรียกว่า "ตานต๊อดคือทานทอดทิ้งไว้นั่นเอง สำหรับการทำบุญอีกประการหนึ่ง คือการทานทอด ซึ่งภาคกลางเรียกว่าทิ้งทาน เจตนาของทายกที่จะถวายแก่พระสงฆ์ก็ดี หรืออยากจะทำบุญสงเคราะห์แก่คนยากไร้เข็ญใจผู้ใดก็ดี เขาจะนำเอาวัตถุที่จะถวาย หรือที่จะให้ไปวางไว้ ใกล้ๆ กับสถานที่อยู่ของภิกษุ เช่น บริเวณหน้ากุฏิของท่านถ้าเป็นชาวบ้านก็ใช้บริเวณหน้าบ้านของเขา หลังจากวางของแล้วจะทำการจุดประทัด เพื่อเป็นสัญญาณว่ามีคนเขาเอาของมาถวาย หรือเอามาให้ บางรายจะแอบดูจนผู้รับเก็บเข้าไปก่อนจึงจะกลับบางรายก็กลับบ้านเลยไม่สนใจว่าจะมารับหรือไม่ให้สมกับเจตนาทานทอดหรือทิ้งทานจริงๆ การทอดผ้าป่าจึงทำ ๒ ลักษณะ คือ ทอดด้วยการกล่าวคำถวายแล้วพระสงอนุโมทนาอย่างหนึ่งกับวางของแบบทานทอดหรือทิ้งทานโดยไม่ต้องการรับพรอนุโมทนาอีกอย่างหนึ่ง

 

จะทอดผ้าป่าต้องทำอย่างไร

          ชาวบ้านหรือชาววัดในภาคเหนือจะนิยมทำ จองหลิ่ง" คือ ที่สำหรับใส่ผ้าป่าทำเป็นตั่ง ๔ ขา ใช้ไม้ไผ่เป็นอุปกรณ์ ด้านบนมีพนักกั้นที่ใส่ของต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมารวมกัน มีฟักแฟง มะพร้าว ของสุด ของแห้งที่จะวายให้ พระนำไปขบฉันได้นานวัน ที่องหลิ่งจะมีกิ่งมะขามผูกติดไว้ เพื่อประชาชนจะผ้า และวัสดุอุปกรณ์มาแขวนไว้ และให้มีสภาพคล้ายกับป่า ที่พระอนุรุทธเถระเคยเข้าไปแสวงหาผ้าบังสุกุล และไปพบกับผ้าของนางเทพธิดา ดังนั้นเมื่อถึงฤดูกาลแล้ว จึงหาผ้ามาโดยมากเป็นสบงพร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่นๆ เช่น ผลไม้ สมุดปากกา อาหาร หนังสือ เตรียมบรรจุลงในชะลอม หรือกระชุ คระบุง แล้วเอากิ่งปักลงในภาชนะนั้นๆ ถ้าจะเป็นการครึกครื้นก็จัดขบวนแห่ ไปยังวัดนั้นๆ อธิษฐานถวาย ก่อนถวายจุดประทัดหรือให้สัญญาอื่นๆ เพื่อเป็นการบอกเครื่องหมายให้พระรู้ หรืออาจจะรออยู่จนพระมารับได้ แต่ไต้องการให้ครึกครื้นก็นำไปเงียบๆ ก็ได้ แล้วก็กลับบ้านเสร็จพิธี

 

การทอดผ้าป่ามีข้อสำคัญ ๓ ประการคือ

๑. ควรมีผ้า

๒. ควรมีกิ่งไม้ปักไว้ด้วย

๓. อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปไหน

- การมีผ้าและกิ่งไม้ก็เพื่อให้สมกับคำว่า ผ้าป่า คือ ผ้าที่ชาวบ้านขาทิ้งไว้ในป่า

- การไม่เจาะจงพระรูปใด ก็เพราะผ้าป่าเป็นผ้าที่ทอดสำหรับภิกษุผู้ต้องการด้วยผ้าบังสุกุลจีวร

การทอดถวายผ้าป่าในปัจจุบันแยกออกไปเป็นหลายประเท และกรรมวิธี เช่น เป็นผ้าป่าหางกฐิน

ผ้าป่าโยงคือ การทำหลายๆ กอง เช่น ผ้าป่า ๑0๘ กอง ผ้าป่าสามัคคี และผ้าป่าขอบคุณของพวกทัศนาจร

ซึ่งนิยมกันมากที่สุด ในเดือนยี่ของภาคเหนือ

 

คำถวายผ้าป่า

คำบาลี   อิมานิ มยัง ภันเต ปังสุกูลจีวรานิ สปริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ

อิมานิ ปังสุกูลจีวรานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล  ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้

แต่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ


ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์



ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


เลขที่ ๔๐๙ ถนนพระเจ้าทันใจ ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
โทรศัพท์ ๐ ๕๔๒๒ ๘๗๖๓  โทรสาร ๐ ๕๔๘๒ ๔๑๘๒
สายด่วนวัฒนธรรม
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม