สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง



องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม >> วันสำคัญ
วันมาฆบูชา

วันที่ 24 มี.ค. 2565

วันมาฆบูชา
 
๑. ชื่อวันสำคัญ 
     วันมาฆบูชา

๒. ความหมาย (คำแปล/ความหมายของชื่อวันสำคัญ) 
     มาฆบูชา เป็นคำเรียกตัดสั้นของคำเต็มว่า มาฆปุณณมีบูชา หรือ มาฆบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธประทานโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมใหญ่ของหมู่สงฆ์ที่ล้วนเป็นพระอรหันตขีณาสพ

๓. ประวัติและความสำคัญ 
     ในสมัยหนึ่งซึ่งเป็นปีแรกที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นเวลา ๙ เดือน ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือมีการชุมนุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ การชุมนุมใหญ่ครั้งนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๔ ข้อ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ
      ๓.๑ พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป เดินทางมาเข้าเฝ้าพรุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
      ๓.๒ พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา หมายถึงผู้ที่พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทให้ด้วยพระองค์เอง
      ๓.๓ พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นพระอรหันตขีณาสพ หมายถึงผู้ที่ละซึ่งอาสวกิเลส ๓ คือ กาม ภพ อวิชชา
      ๓.๔ เหตุการณ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนมาฆะ

๔. หลักธรรมสำคัญ (หลักธรรม หลักปฏิบัติที่เกิดขึ้น) 
     ในวันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งโอวาทปาติโมกข์ แปลตามรูปศัพท์ คือ โอวาทที่เป็นประธาน หรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ หรือ ธรรมที่เป็นหลักการสำคัญในทางพระพุทธศาสนา หรือหัวใจของพระพุทธศาสนาที่ได้ยินกันในปัจจุบัน ประกอบด้วย ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

๕. การถือปฏิบัติ/กิจกรรมที่ศาสนิกพึงปฏิบัติ (ในวันสำคัญ) 
     ๕.๑ ตักบาตรหรือ ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษ สามเณร 
     ๕.๒ การสำรวมกายและวาจา ด้วยการรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ 
     ๕.๓ การฟังพระธรรมเทศนา 
     ๕.๔ การเวียนเทียน รอบพระอุโบสถหรือรอบพระบรมสารีริกราตุจนครบ ๓ รอบ เพื่อระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ

๖. กิจกรรม/ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวัดสำคัญ 
    พิธีมาฆบูชาจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งโปรดเกล้าให้จัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๓๙๔ อันเป็นปีที่เสด็จขึ้นครองราชย์ 
    ในปัจจุบันบางท้องถิ่นที่มีเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีรีกธาตุ หรือเจดีย์โบราณแม้จะไม่ใช่เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุไว้ภายในก็ตาม จะมีประเพณีในการแห่อัญเชิญผ้าพระบถซึ่งเป็นผ้าฝ้ายที่เขียนภาพเรื่องราวในพุทธประวัติหรือผ้าห่มขึ้นห่มเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา
 
๗. เอกสารอ้างอิง
     - สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) , พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด , ๒๕๖๑) หน้า ๓๔๐
     - วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ , กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (กรุงเทพฯ : บริษัท รำไทยเพลส จำกัด , ๒๕๖๑) หน้า ๕ - ๖
 
รวบรวมโดย นายทินกร วัฒนเสน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
pic
pic

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว



ปฏิทินกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง และงานประสานขอพระราชทานเพลิง ตั้งอยู่ : ศาลากลางจังหวัดพัทลุง (หลังเก่า) ชั้น ๒
ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๙๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๔ ๖๑๗๙๕๘ โทรสาร ๐๗๔ ๖๑๗๙๕๙
 
กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ตั้งอยู่ : วัดภูผาภิมุข ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๙๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๔ ๖๑๕๓๔๘ โทรสาร ๐๗๔ ๖๑๐๙๐๙
สายด่วนวัฒนธรรม
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม